.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอบทความ,งานวิจัย,โทรทัศน์ครู งานทั้งหมด

นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
       การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว
           เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว ของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

 นางสาว รัชดา   เทพรียน เลขที่ 5   เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  
เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย 
     การเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ


นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4   เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร
       การแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้


นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2  วิจัย  ชื่อการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐาน    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน 
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
วิธีดำเนินการวิจัย
1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย
     จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

นำเสนอโทรทัศน์ครู  นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8  เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์  เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
-  ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม 
-ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น 
เมื่อคุณครูโยน ปรากฏว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม
- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่น

           จากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


เนื้อหาที่เรียน
        - ทำกิจกรรม Cooking


        - นำเสนอบทความ
นำเสนอบทความของนางสาวกมลรัตน์ มาลัย  เรื่อง  ฝึกทักษะสังเกต...นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

     ทักษะขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือ การสังเกต เพราะฉะนั้นควรจะส่งเสริมทักษะการสังเกตของเด็กโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
    ฝึกการสังเกตด้วย ตา ( Eye) ให้เด็กได้ดูในสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ สังเกตความแตกต่างและควรหาเมล็ดพีชต่างๆมาให้เด็กสังเกตโดยการใช้แว่นขยายจะทำให้เขาเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ลายใบไม้ เป็นต้น
     ฝึกการสังเกตด้วย หู (Ear) ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติโดยการอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่างๆ นก จิ้งหรีด แล้วให้ทายว่าเป็นเสียงอะไรหรือปิดตาแล้วให้เดาว่าเสียงได้ยินคือเสียงอะไร เช่น เคาะไม้ ตีกลอง เป็นต้น
      ฝึกการสังเกตด้วย จมูก (Nose) ปิดตาแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่เขาคุ้นเคยในชีวิต เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ดอกไม้ ส้ม กระเทียม หลังจากที่เด็กสามารถจำแนกกลิ่นต่างๆได้ ก็ให้เขาบรรยายความรู้สึกที่มีต่อกลิ่นนั้นๆ เช่น ดอกไม้หอมชื่นใจ เป็นต้น
      ฝึกการสังเกตด้วย ลิ้น (Tongue) การให้ชิมรสอาหาร เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ โดยการนำชิ้นอาหารเล็กๆวางใส่ถาด แล้วปิดตาให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นยังไง เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ - เค็ม ส้ม- เปรี้ยว วุ้น-หวาน จากนั้นก็ให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันหรือแตกต่างกัน เช่น เกลือกับน้ำตาล เป็นต้น
      ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง (  Skin)การใช้มือสัมผัส ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ส่งเสริมโดยการนำวัตถุต่างๆใส่ถุง ให้ปิดตาจับของในถุง บอกถึงลักษณะ เช่น นุ่ม แข็ง และสิ่งที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น ผ้า ฟองน้ำ เป็นต้น