.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอบทความ,งานวิจัย,โทรทัศน์ครู งานทั้งหมด

นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
       การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว
           เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว ของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

 นางสาว รัชดา   เทพรียน เลขที่ 5   เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  
เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย 
     การเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ


นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4   เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร
       การแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้


นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2  วิจัย  ชื่อการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐาน    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน 
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
วิธีดำเนินการวิจัย
1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย
     จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

นำเสนอโทรทัศน์ครู  นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8  เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์  เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
-  ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม 
-ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น 
เมื่อคุณครูโยน ปรากฏว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม
- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่น

           จากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


เนื้อหาที่เรียน
        - ทำกิจกรรม Cooking


        - นำเสนอบทความ
นำเสนอบทความของนางสาวกมลรัตน์ มาลัย  เรื่อง  ฝึกทักษะสังเกต...นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

     ทักษะขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือ การสังเกต เพราะฉะนั้นควรจะส่งเสริมทักษะการสังเกตของเด็กโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
    ฝึกการสังเกตด้วย ตา ( Eye) ให้เด็กได้ดูในสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ สังเกตความแตกต่างและควรหาเมล็ดพีชต่างๆมาให้เด็กสังเกตโดยการใช้แว่นขยายจะทำให้เขาเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ลายใบไม้ เป็นต้น
     ฝึกการสังเกตด้วย หู (Ear) ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติโดยการอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่างๆ นก จิ้งหรีด แล้วให้ทายว่าเป็นเสียงอะไรหรือปิดตาแล้วให้เดาว่าเสียงได้ยินคือเสียงอะไร เช่น เคาะไม้ ตีกลอง เป็นต้น
      ฝึกการสังเกตด้วย จมูก (Nose) ปิดตาแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่เขาคุ้นเคยในชีวิต เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ดอกไม้ ส้ม กระเทียม หลังจากที่เด็กสามารถจำแนกกลิ่นต่างๆได้ ก็ให้เขาบรรยายความรู้สึกที่มีต่อกลิ่นนั้นๆ เช่น ดอกไม้หอมชื่นใจ เป็นต้น
      ฝึกการสังเกตด้วย ลิ้น (Tongue) การให้ชิมรสอาหาร เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ โดยการนำชิ้นอาหารเล็กๆวางใส่ถาด แล้วปิดตาให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นยังไง เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ - เค็ม ส้ม- เปรี้ยว วุ้น-หวาน จากนั้นก็ให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันหรือแตกต่างกัน เช่น เกลือกับน้ำตาล เป็นต้น
      ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง (  Skin)การใช้มือสัมผัส ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ส่งเสริมโดยการนำวัตถุต่างๆใส่ถุง ให้ปิดตาจับของในถุง บอกถึงลักษณะ เช่น นุ่ม แข็ง และสิ่งที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น ผ้า ฟองน้ำ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


เนื้อหาที่เรียน

-วันนี้ได้ทำกิจกรรมในชั้นเรียนคือ การทำ Cooking




*หมายเหตุในการทำกิจกรรมครั้งนี้คือ ไม่ได้มีการตวงอัตราส่วน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ปริมาณ อาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำโดยทำกิจกรรมควรแบ่งให้เด็กทุกๆคนได้ตักใส่ถ้วยเล็กๆของแต่ละคนเพื่อสังเกตได้และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัดส่วนของอาหารนั้น

เนื้อหา
-การเปลี่ยนแปลงจากของเหลว-ของแข็ง
-วิธีการทำและส่วนผสมสามารถบอกหรืออธิบายได้
-วาฟเฟิลเป็นของหวานที่ทานได้ชนิดหนึ่ง

ทักษะ
-การทำวาฟเฟิลเป็นไปตามขั้นตอน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-การนำเสนอสามารถทำเป็นกราฟ
-การใช้เวลาเท่าไหร่ในการทำให้วาฟเฟิลสุก
-การตวงถ้วยในการใช้ส่วนผสม 

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้   อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
           
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


เนื้อหาที่เรียน

-อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและการปรับปรุง My Mapping ของแต่ละกลุ่ม


-แต่ละกลุ่มจะมีแผนการสอน Cooking โดยอาจารย์ได้แบ่งการทำเป็นอาทิตย์ให้ทำในช่วงเวลาเรียน
-รูปแบบการสอน 5E คือ
-ไฮสโคป คือ
-การสอนแบบสืบเสาะ

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


เนื้อหาที่เรียน

-  กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ได้ให้ตัดกระดาษเป็นดอกไม้ โดยให้สังเกตการณ์เกิดปฏิกิริยาของกระดาษที่เป็นดอกไม้กับน้ำในถาดว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยอาจารย์ได้แนะนำให้เทคนิกการทดลองในครั้งนี้
                   1.) ให้เด็กสังเกตการทดลองพร้อมกัน
                   2.) แบ่งกลุ่มและให้ทดลองวางทีละคน
         กิจกรรมนี้เกิดได้เพื่อความสัมพันธ์ของเวลาและการสอดคล้องของสมอง
              (เมื่อดอกมีการเปลี่ยนแปลงไปในการระบายสีจากดอกไม้)
-  กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ผู้สอนได้ให้เพื่อนกรอกน้ำใส่ขวด(โดยให้ส่งตัวแทน)และใช้คำถามดังนี้ ใครว่าน้ำจะไปก่อนกัน  โดยให้ปล่อยน้ำออกจากขวด  และใช้เหรียญวางตามตำแหน่งที่น้ำไหลออก  ปล่อยน้ำที่ละรู สังเกตว่าน้ำจากรูไหนไหลเร็วหรือพุ่งได้ไกลกว่าหรือใกล้
-  กิจกรรมที่ 3 การทดลองเกี่ยวกับน้ำ  อาจารย์ถามว่าร่างกายเรามีน้ำอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ และให้เด็กสืบเสาระหาความรู้ด้วยตัวเองและครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
-  กิจกรรมที่ 4 นำโฟมมาตัดเป็นเรือ  แล้วนำสบู่มาวาง แล้วเรือจะพุ่ง
-  กิจกรรมที่ 5 อาจารย์แจกกระดาษและทำตามคำสั่ง
-  กิจกรรมที่ 6 ไหมพรมเต้นระบำ
-  กิจกรรมที่ 7 เป่าให้ลูกบอลลอย
-  กิจกรรมที่ 8 กล้องเรือดำน้ำ
-  กิจกรรมที่ 9 ไฟฉายสีผสม
-  กิจกรรมที่ 10 บูมแรง
-  กิจกรรมที่ 11 การทดลองเรื่องเทียนไข

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11




ไม่ได้เข้าเรียน


วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอบทความ

เลขที่ 14 บทความ"โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"  

       จากบทความนี้ทำให้สรุปได้ว่า สสว.นั้นได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการายวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมหาคำตอบจากคำถามที่ว่า  "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" โดยได้ยกกิจกรรมมาอธิบายเพิ่มเติมความเข้าใจและจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมองค์ความรู้แก่เด็กปฐมวัย  ดังนี้

กิจกรรม "หวานเย็นชื่อใจ"

     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

กิจกรรม "โมบายเริงลม"

     กิจกรรมจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กๆทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแควนที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ     


เลขที่ 15 บทความ กิจกรรม เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง

      จากการนำเสนอเป็นการจัดกิจกรรม เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่งโดยครูและเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย


เลขที่ 13 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก (ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง)

               จากที่ได้ฟังการนำเสนอบทความนี้ได้บ่งบอกถึงการจัดกิจกรรมโดยให้สอดคล้องกับเรื่องแม่เหล็ก  โดยเป็นการฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการใช้แม่เหล็กมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการสอนหรือการจัดกิจกรรมให้เด็ก  โดยพื้นฐานแล้วเด็กจะมีความอยากรู้อยากลอง  ยิ่งมีการเรียนการสอนที่แปลกใหม่จะกระตุ้นความสนใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น


-อาจารย์ได้ให้ลงไปเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ของอีกกลุ่ม  โดยให้หยิบมาคนละ 1 ชิ้น


ดิฉันได้ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแสงและสี



               แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้เรื่อง แสง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เด็กสัมผัส และเห็นอยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นเงาของสิ่งต่างๆ สังเกตได้ว่าเกิดจาก มีแสงมากระทบสิ่งต่างๆที่ทึบแสงหรือแสงผ่านทะลุผ่านไปไม่ได้ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีเกิดขึ้นในเวลาที่เราเรียกว่า กลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ลับฟ้าไปแล้ว รอบตัวเราจะมีสีดำหรือที่เราเรียกว่า มืด เป็นเวลากลางคืน เราจะใช้แสงจากหลอดไฟ มีไฟฟ้าทำให้เกิดแสงสว่างมาแทน บางทีเราจะเห็นสิ่งต่างๆจากไฟที่เกิดจากจุดเทียน ไฟฉาย เตาแก๊ส แสงสว่างจะทำให้การรับรู้และความรู้สึกของเราจะเปลี่ยนไป เราจะรู้สึกปลอดภัย ทำงานหรือเล่นได้สะดวก เพราะแสง เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว แต่จะแตกต่างจากเมื่อเราอยู่ในที่มืดหรือในเวลากลางคืน เพราะเราจะมองอะไรไม่เห็น การมองเห็นวัตถุรอบตัวก็แตกต่างกัน บางอย่างเรามองเห็นวัตถุนั้นทะลุไปด้านหลังได้เลย เช่น กระจกใส แก้วใส่น้ำ และแผ่นพลาสติกใส บางอย่างเราก็มองเห็นไม่ชัดเจน เช่นกระจกฝ้า กระดาษชุบน้ำมัน และบางอย่างเราก็เห็นเพียงด้านเดียว เช่น แผ่นไม้ กระเบื้อง อิฐ หิน เป็นต้น นั่นคือ สิ่งรอบตัวเรามีหลากหลาย เราเห็นสิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย การเรียนจะทำให้เด็กรู้และเข้าใจ


-นำเสนอกิจกรรมที่อาจารย์ได้ในงานในสัปดาห์ที่แล้วตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด

1.ของเล่นจากเศษวัสดุที่เด็กสามารถทำได้

2.การทดลองวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เราเลือก

3.ของเล่นที่เข้ามุมวิทยาศาสตร์สามารถให้เด็กเรียนรู้ว่าตอนนี้เรากำลังเรียนหน่วยเรื่องอะไร

หน่วยร่างกาย      หน่วยยานพาหนะ   หน่วยชุมชน   หน่วยต้นไม้แสนรัก   หน่วยน้ำ

       *ดิฉันได้หน่วยต้นไม้แสนรัก  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจากการที่นำเสนอคือ  สามารถใช้การทดลองหลากหลายเพื่อให้เด็กเรียนรู้ เช่น การคายน้ำของใบไม้  การเป็นกรด-เบส การลำเลียงอาหารของต้นไม้ ฯลฯ และให้คำแนะนำในการทดลองเพิ่มเติมคือ หากปลูกถั่วงอกในที่มีแสง-ไม่มีแสง,มีอากาศ-ไม่มีอากาศ,มีน้ำ-ไม่มีน้ำ ฯลฯ เพ่อเรียนรู้การเปรียบเทียบและจะเป็นการสอดคล้องกับทักษะวิทยาศาสตร์  ส่วนของเล่นอาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมคือ การสานนาฬิกาจากใบมะพร้าว,ปืนก้านกล้วย ฯลฯ เป็นของเล่นที่ทำจากไม้ ยกตัวอย่างเช่น การนำประดิษฐ์ของจากไม้ไอศกรีม ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก


บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย


ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 


ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสอนให้นักศึกษารู้แนวคิดในการสอนมากขึ้นเพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมและสั่งสอนให้นักศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดี  และมีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน







วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอโทรทัศน์ครู

เลขที่18 เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดยครูพงศกร ไสยเพชร

                จากที่ได้ฟังการนำเสนอทำให้รู้ว่าการจัดกิจกรรมเป็นการกระตุ้นทางการเรียนรู้ของเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ จากที่นำเสนอครูพงศกร ไสยเพชร  ได้ยกตัวอย่างทั้งหมด 4 ตัวอย่าง  โดยเป็นการทดลองที่แตกต่างกัน  ดังนี้ 
              1. การทดลองเรื่องแรงลอยตัว
       การทดลองนี้จะใช้วิธีการประดิษฐ์สื่อของเล่น(นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ) เพื่ออธิบายถึงการบีบตัวของอากาศและการลอยตัวของหลอด
              2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ
            การทดลองนี้จะประดิษฐ์สื่อของเล่น(เลี้ยงลูกด้วยลม)เรื่องนี้จะสอนในเรื่องความเร็วและความดัน  โดยทั่วไปอากาศจะอยู่รอบๆตัวของเด็กๆ เมื่อเราเป่าลมไปยังลูกบอล  แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น
              3. ถุงพลาสติกมหัศจรรย์
            การทดลองนี้จะทดลองจากการนำดินสอค่อยๆแทงผ่านถุงพลาสติก  เมื่อทะลุเข้าไปแล้ว  เนื้อของถุงพลาสติกจะมีโครงสร้างตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
              4. ความดันยกของ
            เป็นการสาธิตจากครูผู้สอนโดยให้เด็กๆดูว่าการเป่าลมผ่านสมุดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น  เมื่อลมเข้าไปในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะเป็นอย่างไร


เลขที่17 เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อม จากข่าว Famil News Today.

       จากที่นำเสนอจะใช้วิธีการเรียนการสอนโดยครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในด้านการให้ความร็ทางวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  จะใช้วิธีการเรียนรู้จากการพาเด็กๆเดินสำรวจรอบๆโรงเรียนในช่วงหลังเข้าแถวตอนเช้าเสร็จ เพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสังเกต  และวิธีการสอนในชั้นเรียนครูผู้สอนจะใช้เทคนิคการสอนโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือปฏิบัติ  เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ในทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น


เลขที่ 16 เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านนักวิทยาศาสตร์

             บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกในการเรียนการสอนอยู่ในทุกๆวัน
         ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ วิเคราะห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, การลอยนํ้าได้อย่างไร หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, การไหลเเรงและการไหลค่อย เป็นต้น
            จากกิจกรรมต่างๆที่นำมาสอนนั้น  เด็กจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่าง  เพื่อเกิดการเรียนรู้  และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  พร้อมกับหาคำตอบ  ข้อสงสัย  และสิ่งที่อยากเรียนรู้จากการทำกิจกรรม  ส่วนครูจะเป็นผู้กระตุ้นการตอบคำถาม (การใช้ภาษา) ควบคู่ไปกับการสอนทักษะทางวิทยาศาสตร์ 

- หลังจากการนำเสนอโทรทัศน์ครูเสร็จสิ้น  พร้อมกับรับฟังคำแนะนำจากอาจารย์  อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม พร้อมกับทำฉลากจับหัวข้อเรื่องที่ได้ และจัดทำ Mind Mapping. โดยใช้หัวข้อย่อยมาแยกออกจากกันเป็นองค์ความรู้แบบย่อยๆ  กลุ่มตัวเองได้หัวข้อในเรื่อง ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และได้ปรึกษาหารือในหัวข้อที่จะทำ จึงได้หัวเรื่องย่อย  คือ ต้นไม้แสนรัก เพื่อจะให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน


วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่  8    วันอังคาร ที่ 29 เดือนกันยายน   พ.ศ. 2558

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



สอบกลางภาคปีการศึกษา 2558


ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2558  ถึง  4  ตุลาคม  2558