.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอบทความ

เลขที่ 14 บทความ"โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"  

       จากบทความนี้ทำให้สรุปได้ว่า สสว.นั้นได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการายวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมหาคำตอบจากคำถามที่ว่า  "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" โดยได้ยกกิจกรรมมาอธิบายเพิ่มเติมความเข้าใจและจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมองค์ความรู้แก่เด็กปฐมวัย  ดังนี้

กิจกรรม "หวานเย็นชื่อใจ"

     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

กิจกรรม "โมบายเริงลม"

     กิจกรรมจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กๆทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแควนที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ     


เลขที่ 15 บทความ กิจกรรม เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง

      จากการนำเสนอเป็นการจัดกิจกรรม เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่งโดยครูและเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย


เลขที่ 13 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก (ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง)

               จากที่ได้ฟังการนำเสนอบทความนี้ได้บ่งบอกถึงการจัดกิจกรรมโดยให้สอดคล้องกับเรื่องแม่เหล็ก  โดยเป็นการฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการใช้แม่เหล็กมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการสอนหรือการจัดกิจกรรมให้เด็ก  โดยพื้นฐานแล้วเด็กจะมีความอยากรู้อยากลอง  ยิ่งมีการเรียนการสอนที่แปลกใหม่จะกระตุ้นความสนใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น


-อาจารย์ได้ให้ลงไปเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ของอีกกลุ่ม  โดยให้หยิบมาคนละ 1 ชิ้น


ดิฉันได้ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแสงและสี



               แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้เรื่อง แสง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เด็กสัมผัส และเห็นอยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นเงาของสิ่งต่างๆ สังเกตได้ว่าเกิดจาก มีแสงมากระทบสิ่งต่างๆที่ทึบแสงหรือแสงผ่านทะลุผ่านไปไม่ได้ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีเกิดขึ้นในเวลาที่เราเรียกว่า กลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ลับฟ้าไปแล้ว รอบตัวเราจะมีสีดำหรือที่เราเรียกว่า มืด เป็นเวลากลางคืน เราจะใช้แสงจากหลอดไฟ มีไฟฟ้าทำให้เกิดแสงสว่างมาแทน บางทีเราจะเห็นสิ่งต่างๆจากไฟที่เกิดจากจุดเทียน ไฟฉาย เตาแก๊ส แสงสว่างจะทำให้การรับรู้และความรู้สึกของเราจะเปลี่ยนไป เราจะรู้สึกปลอดภัย ทำงานหรือเล่นได้สะดวก เพราะแสง เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว แต่จะแตกต่างจากเมื่อเราอยู่ในที่มืดหรือในเวลากลางคืน เพราะเราจะมองอะไรไม่เห็น การมองเห็นวัตถุรอบตัวก็แตกต่างกัน บางอย่างเรามองเห็นวัตถุนั้นทะลุไปด้านหลังได้เลย เช่น กระจกใส แก้วใส่น้ำ และแผ่นพลาสติกใส บางอย่างเราก็มองเห็นไม่ชัดเจน เช่นกระจกฝ้า กระดาษชุบน้ำมัน และบางอย่างเราก็เห็นเพียงด้านเดียว เช่น แผ่นไม้ กระเบื้อง อิฐ หิน เป็นต้น นั่นคือ สิ่งรอบตัวเรามีหลากหลาย เราเห็นสิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย การเรียนจะทำให้เด็กรู้และเข้าใจ


-นำเสนอกิจกรรมที่อาจารย์ได้ในงานในสัปดาห์ที่แล้วตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด

1.ของเล่นจากเศษวัสดุที่เด็กสามารถทำได้

2.การทดลองวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เราเลือก

3.ของเล่นที่เข้ามุมวิทยาศาสตร์สามารถให้เด็กเรียนรู้ว่าตอนนี้เรากำลังเรียนหน่วยเรื่องอะไร

หน่วยร่างกาย      หน่วยยานพาหนะ   หน่วยชุมชน   หน่วยต้นไม้แสนรัก   หน่วยน้ำ

       *ดิฉันได้หน่วยต้นไม้แสนรัก  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจากการที่นำเสนอคือ  สามารถใช้การทดลองหลากหลายเพื่อให้เด็กเรียนรู้ เช่น การคายน้ำของใบไม้  การเป็นกรด-เบส การลำเลียงอาหารของต้นไม้ ฯลฯ และให้คำแนะนำในการทดลองเพิ่มเติมคือ หากปลูกถั่วงอกในที่มีแสง-ไม่มีแสง,มีอากาศ-ไม่มีอากาศ,มีน้ำ-ไม่มีน้ำ ฯลฯ เพ่อเรียนรู้การเปรียบเทียบและจะเป็นการสอดคล้องกับทักษะวิทยาศาสตร์  ส่วนของเล่นอาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมคือ การสานนาฬิกาจากใบมะพร้าว,ปืนก้านกล้วย ฯลฯ เป็นของเล่นที่ทำจากไม้ ยกตัวอย่างเช่น การนำประดิษฐ์ของจากไม้ไอศกรีม ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก


บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย


ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 


ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสอนให้นักศึกษารู้แนวคิดในการสอนมากขึ้นเพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมและสั่งสอนให้นักศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดี  และมีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน