.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอโทรทัศน์ครู

เลขที่18 เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดยครูพงศกร ไสยเพชร

                จากที่ได้ฟังการนำเสนอทำให้รู้ว่าการจัดกิจกรรมเป็นการกระตุ้นทางการเรียนรู้ของเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ จากที่นำเสนอครูพงศกร ไสยเพชร  ได้ยกตัวอย่างทั้งหมด 4 ตัวอย่าง  โดยเป็นการทดลองที่แตกต่างกัน  ดังนี้ 
              1. การทดลองเรื่องแรงลอยตัว
       การทดลองนี้จะใช้วิธีการประดิษฐ์สื่อของเล่น(นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ) เพื่ออธิบายถึงการบีบตัวของอากาศและการลอยตัวของหลอด
              2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ
            การทดลองนี้จะประดิษฐ์สื่อของเล่น(เลี้ยงลูกด้วยลม)เรื่องนี้จะสอนในเรื่องความเร็วและความดัน  โดยทั่วไปอากาศจะอยู่รอบๆตัวของเด็กๆ เมื่อเราเป่าลมไปยังลูกบอล  แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น
              3. ถุงพลาสติกมหัศจรรย์
            การทดลองนี้จะทดลองจากการนำดินสอค่อยๆแทงผ่านถุงพลาสติก  เมื่อทะลุเข้าไปแล้ว  เนื้อของถุงพลาสติกจะมีโครงสร้างตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
              4. ความดันยกของ
            เป็นการสาธิตจากครูผู้สอนโดยให้เด็กๆดูว่าการเป่าลมผ่านสมุดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น  เมื่อลมเข้าไปในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะเป็นอย่างไร


เลขที่17 เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อม จากข่าว Famil News Today.

       จากที่นำเสนอจะใช้วิธีการเรียนการสอนโดยครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในด้านการให้ความร็ทางวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  จะใช้วิธีการเรียนรู้จากการพาเด็กๆเดินสำรวจรอบๆโรงเรียนในช่วงหลังเข้าแถวตอนเช้าเสร็จ เพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสังเกต  และวิธีการสอนในชั้นเรียนครูผู้สอนจะใช้เทคนิคการสอนโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือปฏิบัติ  เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ในทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น


เลขที่ 16 เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านนักวิทยาศาสตร์

             บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกในการเรียนการสอนอยู่ในทุกๆวัน
         ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ วิเคราะห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, การลอยนํ้าได้อย่างไร หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, การไหลเเรงและการไหลค่อย เป็นต้น
            จากกิจกรรมต่างๆที่นำมาสอนนั้น  เด็กจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่าง  เพื่อเกิดการเรียนรู้  และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  พร้อมกับหาคำตอบ  ข้อสงสัย  และสิ่งที่อยากเรียนรู้จากการทำกิจกรรม  ส่วนครูจะเป็นผู้กระตุ้นการตอบคำถาม (การใช้ภาษา) ควบคู่ไปกับการสอนทักษะทางวิทยาศาสตร์ 

- หลังจากการนำเสนอโทรทัศน์ครูเสร็จสิ้น  พร้อมกับรับฟังคำแนะนำจากอาจารย์  อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม พร้อมกับทำฉลากจับหัวข้อเรื่องที่ได้ และจัดทำ Mind Mapping. โดยใช้หัวข้อย่อยมาแยกออกจากกันเป็นองค์ความรู้แบบย่อยๆ  กลุ่มตัวเองได้หัวข้อในเรื่อง ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และได้ปรึกษาหารือในหัวข้อที่จะทำ จึงได้หัวเรื่องย่อย  คือ ต้นไม้แสนรัก เพื่อจะให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังได้เพลงจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อไปใช้อีก  และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน