.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ได้สนทนาเกี่ยวกับการทำ Blogger โดยได้ตรวจดูรายละเอียดและติดตามความเคลื่อนไหวของ Blogger.    เป็นรายบุคคล เพื่อฟังคำแนะนำ ปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น



- อาจารย์ได้ให้ไปศึกษาหาความรู้ที่ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยให้หาหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  จะเป็นเรื่องไหนก็ได้ อ่านและทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆว่าสามารถนำมาประยุกต์สอนในระดับปฐมวัยได้ไหม?

- อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน และให้ไปสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์ได้ให้หนังสือเล่มหนึ่งที่มีเนื้อหาและความสำคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาแบ่งหัวข้อ เพื่อให้ไปศึกษาในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแล้วสรุปลง ของแต่ละคน






แม่เหล็ก

             จากการที่ได้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับแม่เหล็ก  ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ทราบเกี่ยวกับแม่เหล็กดึงดูดเหล็ก  เหล็กกล้า  และความสนใจของเด็กเล็กๆ  แม้ว่าแรงดึงดูดของแม่เหล็กเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น  สัมผัสไม่ได้  แต่เราเห็นผลที่เกิดจากแรงดึงดูดนั้นได้  และยังได้กิจกรรมน่าสนใจที่จะสามารถนำไปประยุกต์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย  กิจกรรมที่ได้ศึกษาในเนื้อหาแม่เหล็กก็มีกิจกรรม 6 กิจกรรม  อาทิ
                 1.แม่เหล็กดึงดูดของเป็นบางอย่าง 
                 2.แม่เหล็กแต่ละชิ้นมีแรงดึงดูดต่างกัน 
                 3.แม่เหล็กส่งแรงดึงดุผ่านวัตถุบางอย่างได้ 
                 4.แม่เหล็กชิ้นหนึ่งสามารถสร้างแม่เหล็กชิ้นใหม่ได้
                5. แม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุดอยู่ที่ขั้วทั้งสอง 
                6.แต่ละขั้วของแม่เหล็กจะมีปฏิกิริยาที่ต่างกัน  
              ทั้ง 6 กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นการทดลองเชิงทางวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานการเรียนรู้  เป็นสิ่งที่จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะเด็กจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไม? แม่เหล็กจึงดึงดูด  แล้วทำไมแม่เหล็กถึงเคลื่อนที่ได้ทั้งๆที่มีสิ่งของวางกันอยู่  กิจกรรม  ทั้ง 6 กิจกรรมจะสามารถให้เด็กได้เรียนรู้ ได้ทดลอง  และได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้คำตอบและไขข้อสงสัย  และในการทดลองเรื่องแม่เหล็กทุกครั้ง  ครูจะต้องระวังอย่าให้เด็กทดลองใกล้สิ่งที่ใช้พลังงานแม่เหล็ก  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  แผ่นดิสก์  และชิ้นส่วนอื่นๆของคอมพิวเตอร์  เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ 
               การที่ใช้แม่เหล็กมาเป็นสื่อการเรียนการสอนสามารถเป็นกิจกรรมบูรณาการทางคณิตศาสตร์  ดนตรี กิจกรรมการเล่านิทานด้วยแม่เหล็ก (กิจกรรมนี้จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กๆอย่างมาก  เพราะการเล่านิทานจะมีการเคลื่อนที่ด้วยแม่เหล็ก)  กิจกรรมศิลปะ  กิจกรรมการเล่น  และสุดท้ายกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           จากที่ดิฉันได้ศึกษาหาความรู้ที่ห้องสมุด  ทำให้เข้าใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  และวิทยาศาสตร์ยังมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กได้เกิดความคิด  การแก้ไขปัญหา  การทดลอง  การหาเหตุผล  และยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน


บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย   (ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)


ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน  และชอบเข้าห้องสมุดเลยทำให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  เพราะห้องสมุดมีหนังสือมากมายที่เหมาะกับการอ่านและศึกษาเรียนรู้   


ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   



ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   เอาใจใส่นักศึกษาทุกคน  ติดตามการทำงาน  และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา