.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

เนื้อหาที่เรียน

     - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์(แมลง)  จะสอนอย่างไร
ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งๆนี้หรือเรื่องนี้  การบูรณากาเรื่องกิจกรรม  โดยมีการใช้วิทยาศาสตร์

     - ทักษะ คือ การเปรียบเทียบแยกแยะ

     -ทฤษฎีของเพียเจท์
               เพียเจท์  เป็นผู้ริเริ่มทางความคิดที่ว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นย่อมอยู่กับการพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล  เพียเจท์  ได้แบ่งขั้นตอนของการพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น  คือ  
ขั้นที่ 1 รับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว  
ขั้นที่ 2 ความคิดก่อนปฏิบัติการ  
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการด้วยรูปธรรม  
ขั้นที่สุดท้าย  คือ ขั้นปฏิบัติการด้วยนามธรรม
             เพียเจท์ (Piaget, 1962) ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
             เพียเจท์ (Piaget) ผู้นำทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่นเกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก
และเป็นผลจากสถานภาพของการพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่นสามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อเด็กอายุประมาณ ขวบจะเริ่มการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) 

     - ปัจจัยที่มีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรม (วิธีการเรียนรู้ของเด็ก) เรียนรู้วิธีการของเด็กก่อนจัดกิจกรรม

     - อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น และชี้แจงรายละเอียดในการทำกิจกรรมดังนี้ 
กระดาษที่ได้ไปคนละ 1 แผ่น  สามารถสอนเด็กหรือจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างไร  
(ห้ามซ้ำกัน)




***ดิฉันได้นำเสนอ “เครื่องบินลม” โดยประดิษฐ์จากกระดาษเพียง 1 แผ่น  เพื่อจะสอนในการเคลื่อนที่ของวัตถุ  หากวัตถุมีอากาศกระทบก็จะเคลื่อนที่ตามปริมาณของอากาศที่กระทบวัตถุ  
(การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นได้โดยอากาศ)



     - ข้อสรุปจากการเรียนครั้งนี้ คือ  การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องเรียน ฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา ฯลฯ  แต่ควรจะมีความรู้  และการสอนแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาหรือหน่วยที่จะเรียน  เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน  และการจัดกิจกรมทางวิทยาศาสตร์จะดึงดูดความสนใจของเด็กได้นั้นจะต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง  เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสนใจในสิ่งที่กระทำ




การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน