.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนความสำคัญ/ความหมาย หรือความเข้าใจของตนเองโดยอธิบายเกี่ยวกับ สมองคืออะไร?
   
    สมอง คือ เกิดจากการที่มีสิ่งเร้า  ผ่านประสารทสัมผัสทั้ง 5  สมองเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เดิม ไปยังความรู้ใหม่(นวัตกรรม)

Executive Function (EF) 
      คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน  กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกาย 

นำเสนอบทความ
เลขที่23 นำเสนอโดยนางสาว สุจิตรา  มาวงษ์
     เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล
    แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก"  ประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้             
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 

เลขที่ 22 นำเสนอโดย นางสาวปภัสสร  สีหบุตร 
            เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย
           การสร้างเจตคติที่ดีต่อเด็ก ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และต้องมีเทคนิคในการเล่านิทาน เช่น น้ำเสียง หุ่นมือ เป็นต้น จะช่วยให้เด็กมีความเข้า สนุกสนานในการฟังนิทาน
 วิทยาศาสตร์=การเปลี่ยนแปลง -ความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ


เลขที่ 21 นำเสนอโดย 







-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์





-การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง





-การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.รวบรวมข้อมูล
4.สรุป

-เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง



บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน