เนื้อหาที่เรียน
-นำเสนอวิจัย
เลขที่21 เสกสรร
มาตวังแสง. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์.
จากการได้ศึกษางานวิจัย
พบว่าวิจัยนี้จัดทำเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
โดยจะใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน วันละ 20 นาที
รวมทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัยก็คือ 24 ครั้ง โดยมีเครื่องมือในการวิจัยคือ
แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในวิจัยนี้ได้จำแนกเป็นรายด้านดังนี้
คือด้านการวิเคราะห์
ด้านการใช้เหตุผล
ด้านการสังเคราะห์ และสุดท้ายก็คือ
ด้านการประเมินค่า ผู้วิจัยเขาได้กล่าวไว้ว่าเด็กปฐมวัยควรมีการคิดวิจารณญาณมากขึ้นกว่าเดิม
จึงได้จัดทำงานวิจัยครั้งนี้ขึ้นมาว่าเด็กปฐมวัยในตอนนี้มีการคิดวิจารณญาณความสามารถทั้ง
4 ด้านมากหรือน้อยเพียงใด ผลวิจัยครั้งนี้ได้สรุปว่า
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความคิดวิจารญาณสูงขึ้นอย่างชัดเจน
เลขที่20 จุฑามาศ เรือนก๋า.
การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. จากการนำเสนอสรุปใจความได้ว่า วิจัยนี้จัดทำเพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยได้ใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 20 ชุด เพื่อศึกษาผลในการใช้การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่19 ยุพาภรณ์ ชูสาย.(2555).
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.
จากการนำเสนอสรุปใจความได้ว่า
วิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยที่จัดทำเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
โดยวิจัยนี้มีเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยเป็นคนสร้างขึ้นมา
และผลจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กล่าวไว้ว่า ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
เด็กปฐมวัยทีความรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังจากใช้แผนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
-นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้
เนื่องจากดิฉันได้หัวข้อในการคิดของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแสง
และของเล่นนี้เด็กจะต้องเล่นได้และสามารถทำเองได้ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์
ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้
1.ชื่อของเล่น กระดาษหมุนๆสีรุ้ง
2.อุปกรณ์
1.ไม้บรรทัด 2. กรรไกร 3. กระดาษแข็งหรือกระดาษลัง ตัดเป็นวงกลม 4. ดินสอ
5. สีน้ำ (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง) 6. เชือก 7. พู่กันและจานสี
3.ขั้นตอนการทำ
-ตัดกระดาษแข็งหรือกระดาษลังเป็นวงกลม (ขนาดใดก็ได้ตามความต้องการ)
-แบ่งวงกลมออกเป็น
7 ส่วน และระบายสีแต่ละส่วนตามลำดับดังนี้
สีแดง
สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีคราม และสีม่วง เสร็จแล้วก็รอให้สีแห้ง
-ใช้ดินสอเจาะรูตรงกลางของกระดาษ จำนวน 2 รู แล้ว
-นำเชือกมาสอดใส่ตรงรูที่เจาะไว้ ก็จะได้ กระดาษหมุนๆสีรุ้ง
4.วิธีการเล่น
- ดึงเชือกทั้ง 2 ข้างให้ตึง แล้วหมุนกระดาษกับเชือกไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆดึง เผื่อให้กระดาษหมุนๆสีรุ้งหมุน แล้วสังเกตสีของกระดาษที่หมุนอยู่ว่าจะเป็นสีอะไร
- นำกระดาษหมุนๆสีรุ้ง มาหมุนแข่งกัน ใครหมุนได้นานสุด ก็รับไปเลย
รางวัล “นักประดิษฐ์กระดาษหมุนๆยอดเยี่ยม”
5.ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
แสงสีขาว ประกอบด้วยสีรุ้งต่างๆ (สเปคตรัม) ซึ่งจะได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีคราม และสีม่วง ซึ่งในขณะที่กระดาษหมุนอยู่ ตาของเราจะเห็นสีต่างๆ ภาพของสีต่างๆ จะอยู่ในสมองของเรานาน พอที่จะทำให้ข้อมูลในสมองคาบหรือซ้อนกัน หัวสมองจะผสมสีต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เราอาจจะเห็นกระดาษหมุนๆสีรุ้งนี้ที่กำลังหมุนอยู่เป็นสีขาว เพราะสีรุ้งต่างๆทั้งหมดที่ถูกผสมผสานกันจะกลายเป็น แสงสีขาว
บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์ แต่ตอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นมีอาการไม่ค่อยดี เนื่องจากมีอาการไม่สบาย เลยทำให้พูดเสียงเบาและขาดความมั่นใจในการนำเสนองาน ทั้งๆที่เตรียมตัวไปอย่างดี
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และมีความสนใจในชิ้นงานของเพื่อนๆที่นำเสนอ
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน และให้คำแนะนำในการนำเสนองาน