.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ได้สนทนาเกี่ยวกับการทำ Blogger โดยได้ตรวจดูรายละเอียดและติดตามความเคลื่อนไหวของ Blogger.    เป็นรายบุคคล เพื่อฟังคำแนะนำ ปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น



- อาจารย์ได้ให้ไปศึกษาหาความรู้ที่ห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยให้หาหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  จะเป็นเรื่องไหนก็ได้ อ่านและทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆว่าสามารถนำมาประยุกต์สอนในระดับปฐมวัยได้ไหม?

- อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน และให้ไปสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์ได้ให้หนังสือเล่มหนึ่งที่มีเนื้อหาและความสำคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาแบ่งหัวข้อ เพื่อให้ไปศึกษาในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแล้วสรุปลง ของแต่ละคน






แม่เหล็ก

             จากการที่ได้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับแม่เหล็ก  ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ทราบเกี่ยวกับแม่เหล็กดึงดูดเหล็ก  เหล็กกล้า  และความสนใจของเด็กเล็กๆ  แม้ว่าแรงดึงดูดของแม่เหล็กเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น  สัมผัสไม่ได้  แต่เราเห็นผลที่เกิดจากแรงดึงดูดนั้นได้  และยังได้กิจกรรมน่าสนใจที่จะสามารถนำไปประยุกต์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย  กิจกรรมที่ได้ศึกษาในเนื้อหาแม่เหล็กก็มีกิจกรรม 6 กิจกรรม  อาทิ
                 1.แม่เหล็กดึงดูดของเป็นบางอย่าง 
                 2.แม่เหล็กแต่ละชิ้นมีแรงดึงดูดต่างกัน 
                 3.แม่เหล็กส่งแรงดึงดุผ่านวัตถุบางอย่างได้ 
                 4.แม่เหล็กชิ้นหนึ่งสามารถสร้างแม่เหล็กชิ้นใหม่ได้
                5. แม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุดอยู่ที่ขั้วทั้งสอง 
                6.แต่ละขั้วของแม่เหล็กจะมีปฏิกิริยาที่ต่างกัน  
              ทั้ง 6 กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นการทดลองเชิงทางวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานการเรียนรู้  เป็นสิ่งที่จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะเด็กจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไม? แม่เหล็กจึงดึงดูด  แล้วทำไมแม่เหล็กถึงเคลื่อนที่ได้ทั้งๆที่มีสิ่งของวางกันอยู่  กิจกรรม  ทั้ง 6 กิจกรรมจะสามารถให้เด็กได้เรียนรู้ ได้ทดลอง  และได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้คำตอบและไขข้อสงสัย  และในการทดลองเรื่องแม่เหล็กทุกครั้ง  ครูจะต้องระวังอย่าให้เด็กทดลองใกล้สิ่งที่ใช้พลังงานแม่เหล็ก  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  แผ่นดิสก์  และชิ้นส่วนอื่นๆของคอมพิวเตอร์  เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ 
               การที่ใช้แม่เหล็กมาเป็นสื่อการเรียนการสอนสามารถเป็นกิจกรรมบูรณาการทางคณิตศาสตร์  ดนตรี กิจกรรมการเล่านิทานด้วยแม่เหล็ก (กิจกรรมนี้จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กๆอย่างมาก  เพราะการเล่านิทานจะมีการเคลื่อนที่ด้วยแม่เหล็ก)  กิจกรรมศิลปะ  กิจกรรมการเล่น  และสุดท้ายกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           จากที่ดิฉันได้ศึกษาหาความรู้ที่ห้องสมุด  ทำให้เข้าใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  และวิทยาศาสตร์ยังมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กได้เกิดความคิด  การแก้ไขปัญหา  การทดลอง  การหาเหตุผล  และยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน


บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย   (ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)


ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน  และชอบเข้าห้องสมุดเลยทำให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  เพราะห้องสมุดมีหนังสือมากมายที่เหมาะกับการอ่านและศึกษาเรียนรู้   


ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   



ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   เอาใจใส่นักศึกษาทุกคน  ติดตามการทำงาน  และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา




สรุปบทความ

สรุปบทความเรื่อง
ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

บริษัท แฟมิลี่ วีคเอนด์ จำกัด 
06/04/2011

            จากบทความนี้สรุปได้ว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กนั้นเป็นเรื่องง่าย  และไม่ยุ่งยาก เพราะโดยธรรมชาติของเด็กแล้วนั้นเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งที่อยู่รอบๆตัวตลอดเวลา  เพราะเป็นวัยที่อยู่ในช่วงสมองมีการพัฒนาสูงสุด  ยิ่งเด็กนั้นได้พัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแล้ว  ยิ่งจะทำให้มีทักษะและศักยภาพการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น  ในบทความนี้ก็ได้กล่าวในเรื่องทักษะการสังเกตไว้ว่าทักษะการสังเกตนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ และได้ให้ความหมายของการสังเกต หมายถึง  การที่ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือหลายอย่างมารวมกัน  ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด



การส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า


*  ฝึกสังเกตด้วย ตา   

             ในการสังเกตโดยใช้ ตานั้น  คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ  สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน  ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ  ที่มีทั้ง
สีเขียว  สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ  รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่าง กัน  ให้เด็กสังเกตลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลำต้นตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกี่ยวพันกับต้นอื่น สังเกตความแตกต่างของดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกชบาสีแดง ดอกดาวเรืองสีเหลือง ดอกลั่นทมสีขาว ฯลฯ
              นอกจากใบไม้ ลำต้น กิ่ง ก้านแล้ว  เราควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อสังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ลายใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น
              นี่เป็นเพียงหนึ่งในสิ่งใกล้ตัว ที่ผู้ใหญ่อย่างเรานำมาชี้ชวนให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกต รอบๆ ตัวลูกมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่จะฝึกเรื่องนี้ให้เขาได้


*  ฝึกสังเกตด้วย หู  
            ในการจำแนกเสียงต่างๆ ที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษา  ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด  จักจั่น เสียงน้ำไหล เสียงดนตรีชนิดต่าง ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆ นั้นได้  
             สำหรับการฟังเสียงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้ลูกปิดตาแล้วเดาว่าเสียงที่เขาได้ยินนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เคาะแก้ว  เสียงตีกลอง เสียงเคาะโต๊ะ เป็นต้น การฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุ ซึ่งทำให้เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจชวนลูกทำเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะจากวัสดุต่าง ๆ ที่ให้เสียงที่แตกต่างกัน เช่น กระป๋องอัดลมที่ใส่เม็ดถั่วเขียว ก้อนกรวดเล็กๆ หรือทรายไว้ข้างใน ลูกซัดหวายร้อยด้วยฝาน้ำอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ หรือชวนลูกไปสวนสาธารณะ ให้เขาปิดตาเงี่ยหูฟังเสียงแล้วบอกว่าเขาได้ยินเสียงอะไรบ้าง ลูกอาจจะได้เรียนรู้ว่าการเงียบแล้วเงี่ยหูฟังเสียงนั้น จะทำให้เขาได้ยินเสียงบางเสียงที่เขาอาจไม่ได้ยินขณะลืมตาฟังก็ได้ 


*   ฝึกสังเกตด้วย จมูก  
            การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น  ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้  หัวหอม กระเทียม กะเพราะ  ฯลฯ  หลังจากที่ลูกสามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ ผลไม้ เช่น ส้มกับมะนาว แล้วให้เด็กบรรยายความรู้สึกที่มีต่อกลิ่นนั้นๆ เช่น ดอกไม้นี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว  ใบนี้กลิ่นร้อนๆ เป็นต้น นี่คือการฝึกทักษะการแยกแยะ สังเกตให้ลูก


*  ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น  
             การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น คุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายๆ อย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน  เกลือ-เค็ม  วุ้น-หวาน  ส้ม-เปรี้ยว  มะนาว-เปรี้ยว  ขนมชั้น-หวาน มะระ-ขม เป็นต้น  หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  เช่น ส้มกับมะนาว/ น้ำตาลกับขนมแตกต่างกันอย่างไร



*  ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง   
             การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆ ใส่ถุง ให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของเหล่านี้แล้ว ยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย

                การได้ฝึกสังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านี้ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดเป็นข้อมูลขึ้นในสมองของลูก เพื่อการเรียกมาใช้ในวันหนึ่งข้างหน้านั่นเอง...




งานวิจัย



วิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  นางสาวกัญญารัตน์  แก้วละเอียด ปีพ.ศ. 2554 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา) สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา
-ปัญหาของงานวิจัย...จำทำอย่างไรให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้บ้าง
-วัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 
-กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  เด็กปฐมวัย ช/ญ จำนวน 45 คน อายุ 5-6ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1/2554 รร.อนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ50นาที
-เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1.แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร จำนวน 24 แผน
2.แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายจากข้อมูล ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
สมมติฐาน  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมีคะแนนทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
หน่วยดอกไม้แสนสวย
วัน
กิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
วันจันทร์
กิจกรรม “ฉันคือดอกไม้”
(ขั้นเตรียมการ)
-การสังเกตลักษณะ รูปร่าง สี ผิวสัมผัสกลิ่น เสียงของดอกไม้
-การจำแนกประเภทดอกไม้
-การวัด ชั่งน้ำหนักดอกไม้
-การวัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลโดยการสังเกตและบอกลักษณะของดอกไม้
วันอังคาร
กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหาร”นักเก็ตดอกเข็ม”
(ขั้นสาธิต)
-การสังเกตส่วนผสมนักเก็ตดอกเข็ม
-การวัด เรียนรู้การตวงส่วนผสม
-การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลโดยการบอกขั้นตอนการประกอบอาหาร
วันพุธ
กิจกรรมการประกอบอาหาร “นักเก็ตดอกไม้แสนสวย” จากส่วนผสมที่เด็กคิดและร่วมกันตั้งชื่ออาหารของกลุ่มตนเอง
(ขั้นการปฏิบัติและสรุป)
-การสังเกตความเหมือนและความแตกต่างของอาหารและสังเกตเสียงขณะประกอบอาหาร
-การลงความคิดเห็นจากข้อมูลบอกสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสม
-การวัด ตวงส่วนผสม
 -การจัดกระทำและสื่อความหมาย บอกผลการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสม
-การลงความคิดเห็นจากข้อมูล  บอกสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสม





ตัวอย่างแผนการสอนในงานวิจัย







ขั้นตอนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร


 บทบาทครู



 บทบาทของเด็ก
 ประเมินผล


ยกตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหารจากงานวิจัย
หน่วย  ดอกไม้แสนสวย
































 







ภาพการจัดกิจกรรม