.......................Welcome to blogger...................... Miss. Kanyarat Sankot. ☜ ❤ ☞ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล๊อกของ นางสาวกัญญารัตน์ แสนโคตร........~♬ ~♬. . . .

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่  8    วันอังคาร ที่ 29 เดือนกันยายน   พ.ศ. 2558

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



สอบกลางภาคปีการศึกษา 2558


ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2558  ถึง  4  ตุลาคม  2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


เนื้อหาที่เรียน

-นำเสนอวิจัย

เลขที่21   เสกสรร มาตวังแสง. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์.          
                   จากการได้ศึกษางานวิจัย  พบว่าวิจัยนี้จัดทำเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยจะใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัยก็คือ 24 ครั้ง โดยมีเครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในวิจัยนี้ได้จำแนกเป็นรายด้านดังนี้ คือด้านการวิเคราะห์  ด้านการใช้เหตุผล  ด้านการสังเคราะห์  และสุดท้ายก็คือ ด้านการประเมินค่า ผู้วิจัยเขาได้กล่าวไว้ว่าเด็กปฐมวัยควรมีการคิดวิจารณญาณมากขึ้นกว่าเดิม  จึงได้จัดทำงานวิจัยครั้งนี้ขึ้นมาว่าเด็กปฐมวัยในตอนนี้มีการคิดวิจารณญาณความสามารถทั้ง 4 ด้านมากหรือน้อยเพียงใด ผลวิจัยครั้งนี้ได้สรุปว่า การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความคิดวิจารญาณสูงขึ้นอย่างชัดเจน

เลขที่20   จุฑามาศ เรือนก๋า. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.                       จากการนำเสนอสรุปใจความได้ว่า วิจัยนี้จัดทำเพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และเป็นการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยได้ใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 20 ชุด เพื่อศึกษาผลในการใช้การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เลขที่19    ยุพาภรณ์ ชูสาย.(2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. 
                  จากการนำเสนอสรุปใจความได้ว่า วิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยที่จัดทำเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง โดยวิจัยนี้มีเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยเป็นคนสร้างขึ้นมา และผลจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กล่าวไว้ว่า ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยทีความรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง  แต่หลังจากใช้แผนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ


-นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้

           เนื่องจากดิฉันได้หัวข้อในการคิดของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแสง และของเล่นนี้เด็กจะต้องเล่นได้และสามารถทำเองได้ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์


ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้

1.ชื่อของเล่น  กระดาษหมุนๆสีรุ้ง


2.อุปกรณ์
             1.ไม้บรรทัด         2. กรรไกร            3. กระดาษแข็งหรือกระดาษลัง ตัดเป็นวงกลม              4. ดินสอ
             5. สีน้ำ (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง)         6. เชือก              7. พู่กันและจานสี




3.ขั้นตอนการทำ
-ตัดกระดาษแข็งหรือกระดาษลังเป็นวงกลม (ขนาดใดก็ได้ตามความต้องการ)

-แบ่งวงกลมออกเป็น 7 ส่วน และระบายสีแต่ละส่วนตามลำดับดังนี้  สีแดง  สีส้ม  สีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำเงิน  สีคราม และสีม่วง  เสร็จแล้วก็รอให้สีแห้ง

-ใช้ดินสอเจาะรูตรงกลางของกระดาษ จำนวน 2 รู แล้ว

-นำเชือกมาสอดใส่ตรงรูที่เจาะไว้  ก็จะได้ กระดาษหมุนๆสีรุ้ง




4.วิธีการเล่น
             - ดึงเชือกทั้ง 2 ข้างให้ตึง แล้วหมุนกระดาษกับเชือกไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆดึง เผื่อให้กระดาษหมุนๆสีรุ้งหมุน   แล้วสังเกตสีของกระดาษที่หมุนอยู่ว่าจะเป็นสีอะไร



       - นำกระดาษหมุนๆสีรุ้ง มาหมุนแข่งกัน  ใครหมุนได้นานสุด ก็รับไปเลย 
รางวัล “นักประดิษฐ์กระดาษหมุนๆยอดเยี่ยม”



5.ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

       แสงสีขาว  ประกอบด้วยสีรุ้งต่างๆ (สเปคตรัม) ซึ่งจะได้แก่  สีแดง  สีส้ม  สีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำเงิน  สีคราม และสีม่วง  ซึ่งในขณะที่กระดาษหมุนอยู่  ตาของเราจะเห็นสีต่างๆ  ภาพของสีต่างๆ  จะอยู่ในสมองของเรานาน  พอที่จะทำให้ข้อมูลในสมองคาบหรือซ้อนกัน  หัวสมองจะผสมสีต่างๆ  เหล่านี้เข้าด้วยกัน  เราอาจจะเห็นกระดาษหมุนๆสีรุ้งนี้ที่กำลังหมุนอยู่เป็นสีขาว  เพราะสีรุ้งต่างๆทั้งหมดที่ถูกผสมผสานกันจะกลายเป็น  แสงสีขาว 

                         




บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์  แต่ตอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นมีอาการไม่ค่อยดี  เนื่องจากมีอาการไม่สบาย เลยทำให้พูดเสียงเบาและขาดความมั่นใจในการนำเสนองาน  ทั้งๆที่เตรียมตัวไปอย่างดี

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  และมีความสนใจในชิ้นงานของเพื่อนๆที่นำเสนอ  

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน  และให้คำแนะนำในการนำเสนองาน 





บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนความสำคัญ/ความหมาย หรือความเข้าใจของตนเองโดยอธิบายเกี่ยวกับ สมองคืออะไร?
   
    สมอง คือ เกิดจากการที่มีสิ่งเร้า  ผ่านประสารทสัมผัสทั้ง 5  สมองเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เดิม ไปยังความรู้ใหม่(นวัตกรรม)

Executive Function (EF) 
      คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน  กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกาย 

นำเสนอบทความ
เลขที่23 นำเสนอโดยนางสาว สุจิตรา  มาวงษ์
     เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล
    แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก"  ประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้             
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 

เลขที่ 22 นำเสนอโดย นางสาวปภัสสร  สีหบุตร 
            เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย
           การสร้างเจตคติที่ดีต่อเด็ก ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และต้องมีเทคนิคในการเล่านิทาน เช่น น้ำเสียง หุ่นมือ เป็นต้น จะช่วยให้เด็กมีความเข้า สนุกสนานในการฟังนิทาน
 วิทยาศาสตร์=การเปลี่ยนแปลง -ความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ


เลขที่ 21 นำเสนอโดย 







-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์





-การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง





-การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.รวบรวมข้อมูล
4.สรุป

-เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง



บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย   คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน




วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

เนื้อหาที่เรียน

     - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์(แมลง)  จะสอนอย่างไร
ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งๆนี้หรือเรื่องนี้  การบูรณากาเรื่องกิจกรรม  โดยมีการใช้วิทยาศาสตร์

     - ทักษะ คือ การเปรียบเทียบแยกแยะ

     -ทฤษฎีของเพียเจท์
               เพียเจท์  เป็นผู้ริเริ่มทางความคิดที่ว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นย่อมอยู่กับการพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล  เพียเจท์  ได้แบ่งขั้นตอนของการพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น  คือ  
ขั้นที่ 1 รับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว  
ขั้นที่ 2 ความคิดก่อนปฏิบัติการ  
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการด้วยรูปธรรม  
ขั้นที่สุดท้าย  คือ ขั้นปฏิบัติการด้วยนามธรรม
             เพียเจท์ (Piaget, 1962) ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
             เพียเจท์ (Piaget) ผู้นำทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่นเกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก
และเป็นผลจากสถานภาพของการพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่นสามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อเด็กอายุประมาณ ขวบจะเริ่มการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) 

     - ปัจจัยที่มีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรม (วิธีการเรียนรู้ของเด็ก) เรียนรู้วิธีการของเด็กก่อนจัดกิจกรรม

     - อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น และชี้แจงรายละเอียดในการทำกิจกรรมดังนี้ 
กระดาษที่ได้ไปคนละ 1 แผ่น  สามารถสอนเด็กหรือจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างไร  
(ห้ามซ้ำกัน)




***ดิฉันได้นำเสนอ “เครื่องบินลม” โดยประดิษฐ์จากกระดาษเพียง 1 แผ่น  เพื่อจะสอนในการเคลื่อนที่ของวัตถุ  หากวัตถุมีอากาศกระทบก็จะเคลื่อนที่ตามปริมาณของอากาศที่กระทบวัตถุ  
(การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นได้โดยอากาศ)



     - ข้อสรุปจากการเรียนครั้งนี้ คือ  การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องเรียน ฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา ฯลฯ  แต่ควรจะมีความรู้  และการสอนแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาหรือหน่วยที่จะเรียน  เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน  และการจัดกิจกรมทางวิทยาศาสตร์จะดึงดูดความสนใจของเด็กได้นั้นจะต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง  เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสนใจในสิ่งที่กระทำ




การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์เป็นที่น่าภูมิใจและเหมาะที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

บรรยากาศในห้องเรียน
        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย รู้สึกผ่อนคลาย

ประเมินตนเอง
       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาบางแต่ก็พยายามปรับตัวโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน 

ประเมินเพื่อน
       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์
            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ   มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนุกและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 4



ไม่มีการเรียนการสอน


เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์จัดงานศึกษาวิชาการ